น้ำมันเครื่องสำคัญยังไง

รถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์เป็นหลักส่วนใหญ่ใช้น้ำมันเครื่องกันทั้งนั้น เพราะ น้ำมันเครื่อง เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เครื่องยนต์ไม่สึกหรอ เพราะเครื่องยนต์จะทำงานได้ดีต้องไม่มีแรงต้านทานภายในกระบอกสูบหรือหล่อลื่นดีนั้าแหละครับ ยิ่งลูกสูบ เพลาข้อเหวี่ยง เกียร และส่วนประกอบของเครื่องยนต์ต่างๆ ก็ต้องใช้น้ำมันหล่อลื่น เป็นตัวหล่อลื่นและระบายความร้อนจากเครื่องยนต์ให้ทันเวลาที่เครื่องทำงาน ไม่งั้นอาจทำให้ระบบเครื่องยนต์ร้อนและทำให้ชิ้นส่วนต่างๆสึกหรอได้ หรือใช้งานได้สั้นลง จากที่ควรจะเป็น ดังนั้นผมขอแนะนำลักษณะของน้ำมันเครื่องแบบไม่ลงรายละเอียดมากนะครับเพราะผมก็อ่านข้อมูลแล้วสรุปเป็นความเข้าใจของผม ถ้ามีมากกว่านี้ก็ขออภัยด้วย

จะเลือกน้ำมันเครื่องต้องสนใจมาตรฐานหรือเปล่า

เมืองไทย จะใช้มาตรฐานของอเมริกาเป็นหลัก จากการหาข้อมูลหลายแหล่งด้วยกัน ผมขอไม่ลงรายละเอียดนะครับ เพราะจะทำให้งงและยุ่งยาก ที่เราใช้งานที่เรามีมาตรฐานที่ใช้กันอยู่ส่วนมากคือมาตรฐาน ของ SAE (SOCIETY OF AUTOMOTIVE ENGINEERS) ซึ่งเป็นมาตรฐานของ สถาบันปิโตรเลียมสหรัฐอเมริกา ซึ่งน่าก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1990 เอาละมาดูกันว่า มาตรฐานที่เราคุ้นเคยนี้มีอะไรบ้าง

มาตรฐาน SAE

SAE จะประกอบด้วยค่าตัวเลข 2 ชุด ชุดแรกบอกลักษณะค่าของอุณหภูมิเป็นเลขที่ลงท้ายด้วย “W” (Winter) เช่น 0W,5W,10W,15W และ 20W   ต้องบอกว่าเมืองไทยใช้ได้ทุกตัวเพราะเมืองไทยอุณหภูมิบ้านเราไม่ติดลบถ้าถูกกว่าก็จัดได้เลย และชุดที่สอง คือค่าความหนืดเริ่มต้น ที่ 20,30,40 และ 50 จากเลขจะเห้นว่าค่าน้อย ค่าความหนึดจะน้อย เลขมากค่าความหนืดจะมาก  ซึ่งขึ้นอยู่กับเครื่องยนต์ที่ใช้ ยังไม่พูดถึงค่าที่ใช้สำหรับรถที่ใช้เครื่องยนต์เบนซิลหรือดีเซล หรือแก๊ส LPG และ  NGV  ซึ่งถ้าใช้เบอร์ค่าความหนีดสูงจะมีผลทำให้เครื่องยนต์ประสิทธิภาพลดลง แรงจะน้อย แต่ถ้าความหนีดน้อยแรงเครื่องยนต์ก็จะดีเพราะน้ำมันเครื่องจะเลี้ยงลูกสูบและข้อเหวี่ยงต่างๆ ดังนั้นแนะนำให้เลือกตามค่าโรงงาน หรือตามเชื้อเพลิงที่ใช้เป็นต้น

ภาพแสดงค่าความหนืดและอุณหภูมิ

ยกตัวอย่าง  SAE 10W40    คือมีค่าความสามารถคงความใสไม่เป็นไขที่ถึงอุณหภูมิติดลบที่ -10 เซลเซียสและมีความหนีด อยู่ 40 ปกติก็ดูแค่นี้ แต่ยังมีมีหลายค่าที่ต้องพิจารณาด้วยครับ ติดตามต่อไปเลย จะพูดถึง API (AMERICAN PETROLEUM INSTITUTE) กันต่อนะครับ

API คืออะไร แล้วสำคัญยังไง

    API เป็นมาตรฐานตัวหนึ่งของ อเมริกามีหน่วยงานที่ใช้มาตรฐานนี้ 650 บริษัทโดยการกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับคุณสมบัติของน้ำมันเครื่องว่าใช้กับเครื่องยนต์ 2 ประเภทใหญ่ๆ ด้วยกัน จะมีสัญลักษณ์อยู่ 2 ตัวคือ S และ C  เรามาดูกันว่าทั้งสองตัวหมายถึงอะไร

   ตัวย่อ S (Service Stations Classifications) ซึ่งเป็นตัวที่บอกถึงรถใช้กับรถประเภทเบนซิน จะแบ่งตามตัวเลขดังนี้ซึ่งสังเกตุว่า SA จะใช้กับรถเบนซินรุ่นเก่ามาก และ SN เป็นตัวล่าสุดใช้กับรถเบนซินรุ่นใหม่ ตั้งแต่ปี 2011 ขึ้นไปเป็นต้น การที่มีโค๊ตเพิ่มเรื่อยๆนั้นเป็นเพราะ จะใส่สารป้องกันเครื่องยนต์ลงไปให้เหมาะสมกับเครื่องยนต์ในปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น เพื่อป้องกันการรวมตัวกับออกซิเจนต้านทานการรวมตัวของเขม่าและตะกอนที่อุณหภูมิสูง ป้องกันสนิมและการกัดกร่อน

ตัวย่อ C (COMMERCIAL SERVICE-COMPRESSION IGNITION) เป็นโค๊ตที่ใช้สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลโดยเฉพาะ คือเริ่มตั่งแต่ CA->CJ  อาจจะแบ่งเป็นโค้ตย่อยๆ ได้ อีก CF-4 ประมาณนี้ เป็นต้น คือการกำหนดลักษณะการใช้งานสำหรับรถแต่ละรุ่นที่สามารถใช้ได้ โดยลักษณะของรุ่นหมายความเหมือนที่ใช้กับเครื่องยนต์เบนซิลคือเพิ่มสารต่างๆเพิ่มช่วยให้เครื่องยนต์ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ เป็นต้น

API Diesel

คงเข้าใจกันมากขึ้นนะครับ สำหรับ API เอาเข้ามาเพื่อแยกว่าใช้กับรถประเภทไหนเป็นหลักนะครับ และยังมีมาตรฐานที่สามารถใช้ใด้ทั้งคู่ อาจจะเจอคำนี้นะครับ  SAE 0W-40 และ API CH-4/SL   จะเห็นว่าใช้ได้ทั้งคู่เลยทั้งเครื่องยนต์เบนซินและเครื่องยนต์ดีเซล

ACEA (เดิม CCMC)

ACEA (The Association des Constructeurs Europeens d’Automobile) เกิดจากการรวมตัวของสมาคมผู้ผลิตยานยนต์ในตลาดร่วมยุโรป หรือเป็นทางการว่า European Automobile Manufacturer Association สมาคมผู้ผลิตยานยนต์ในตลาดร่วมยุโรบ ซึ่งได้แก่ ALFA ROMEO, BRITISH LEYLAND, BMW, DAF, DAIMLER-BENZ, FIAT, MAN, PEUGEOT, PORSCHE, RENAULT, VOLKSWAGEN, ROLLS-ROYCE, และ VOLVO ได้มีการกำหนดมาตรฐานโดยเริ่มใช้อย่างเป็นทางการเมื่อ 1 มกราคม 1996 โดยยกเลิกมาตรฐาน CCMC ไปเนื่องจาก ACEA มีสถาบันเข้าร่วมโครงการมากกว่าและมีข้อกำหนดที่เด่นชัด ซึ่งตัวนี้จะสังเกตุว่าเป็นมาตรฐานทางด้านยุโรป รถที่ใช้คือรถที่ผลิตภายใตัมาตรฐานยุโรป มีรายละเอียดดังนี้ครับ

– เครื่องยนต์เบนซิน : ACEA A1, A2, A3 เทียบเท่า API SJ
– เครื่องยนต์ดีเซลงานเบา : ACEA B1, B2, B3, B4
– เครื่องยนต์ดีเซลงานหนัก : ACEA E1, E2, E3, E4, E5

ภาพเปรียบเทียบมาตรฐาน

จะเห้นว่ายุโรปไม่ได้แบ่งเกรดน้ำมันเหมือนกับ อเมริกา โดยวัดจากอุณหภูมิแล้ค่าความหนีด แต่วัดจากขนาดเครื่องยนต์เป็นหลัก เพราะว่าหนาวอยู่แล้วจึงไม่มีค่านี้ แต่แบ่งตามขนาดของเครื่องยนต์และเครื่องยนต์ที่ใช้เท่านั้นรถที่มาจากยุโรปก็เลือกใช้ให้ถูกครับ  บ้านเราไม่รู้มีขายหรือเปล่านะครับ ไม่เคยเห็น

ยังมีหลายมาตรฐานนะครับแต่คิดว่าคงไม่มีขายในประเทศไทย เช่น EMA หรือ JASO (Japanese Automobile Standard Organization) และอีกหลายมาตรฐานอีกแยะ ขอกล่าวไว้แค่นี้ก่อนนะครับ

ชนิดของน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน จะเลือกยังไง

น้ำมันเครื่องธรรมดา(Synthetic) เป็นน้ำมันเครื่องที่ผลิตจากน้ำมันหล่อลื่นที่กลั่นจากน้ำมันปิโตรเลียม สามารถใช้งานได้ประมาณ 3,000-5,000 กมโดยประมาณ เพราะจะเสื่อมสภาพไว
น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์(Semi Synthetic) เป็นน้ำมันเครื่องที่ผลิตจากน้ำมันหล่อลื่นธรรมดากับน้ำมันเครื่องชนิดสังเคราะห์ สามารถใช้งานได้ประมาณ 5,000-7,000 กม.
น้ำมันเครื่องสังเคราะห์(Fully Synthetic) เป็นน้ำมันเครื่องที่ผลิตจากน้ำมันหล่อลื่นที่สังเคราะห์จากน้ำมันปิโตรเลียม สามารถใช้งานได้ประมาณ 7,000-10,000 กม
น้ำมันเครืองสูตรพิเศษ เช่น น้ำมันสำหรับเครือง LPG/CNG/NGV ใส่สารป้องกันบ่าวาล์วและมีความหนีดสูง ใช้งานได้ประมาณ 5000 กม

SPEC ของน้ำมันเครื่อง

โดยส่วนใหญ่ผู้ผลิตจะทำการบอกคุณสมบัติของแต่ละมาตรฐานอยู่แล้วว่าใช้กับเครื่องยนต์อะไรได้บ้าง มาดูกันเลย

Product Name: DYNAMIC EXTRA LONG DRAIN
Viscosity: SAE 10W-40
Standard: API CI-4 , CH-4 , CG-4 , CF-4 , CF
ACEA E7 / E6
VOLVO VDS-3
MB 228.51 / MB 226.9
MAN M 3477 / M3271-1
MTU Type 3.1
CUMMINS CES 20076 / 20077
MACK EO-N
RENAULT RLD-2 / RXD / RGD
DEUTZ DQC III-10 LA
JASO DH-2

เห็นไหมละครับ ว่าน้ำมันเครื่อง 1 แกลลอนจะมีคุณสมบัติมากมายตามที่กล่าวไว้ตั้งแต่ต้น ที่นี้เราก็รู้แล้วว่าจากเสปคก็พอได้รายละเอียดสำหรับรถของเราอย่างถูกต้อง จากภาพด้านบน ก็สรุปว่าเป็นน้ำมันเครื่องแบบน้ำมันเครื่องสังเคราะห์มีอายุการใช้งาน 10000-15000 กิโลเมตร และมีมาตรฐาน SAE  10W 40 หมายความว่า ใช้ใด้ในอณหภูมิติดลบ 20 อ่งศา และมีค่าความหนืด 40 เครื่องยนต์ดีเซลรุ่นใหม่ดูจาก API CI-4 , CH-4 , CG-4 , CF-4 , CF และ ตามมาตรฐานยุโรป ACEA E7/E6 หมายความว่าใช้กัยเครื่องยนต์ดีเซลงานหนัก เป็นต้นนะครับ

ยกตัวอย่างของ HONDA

จะเห็นได้ว่าทางผู้ผลิตเองได้ออกคุณสมบัติของแต่ละรุ่นที่จะใช้น้ำมันเครื่องอยู่แล้ว แนะนำว่าใช้ให้ตรงกับรุ่นที่ต้องการเป็นต้น ที่ผมยกตัวอย่างเป็นรถที่ HONDA ที่มีใช้อยู่ในขณะนี้

isuzu

ค่าย ISUZU แนะนำ 10W-30 เป็นต้น

สรุปการเลือกน้ำมันเครื่อง

ถ้ามีเงินไม่เดือดร้อนและต้องการความแรงของเครื่องยนต์ แนะนำให้ใช้น้ำมันเครื่องสังเคราะห๋และมีค่าความหนึดต่ำสุดที่เครื่องสามารถรับได้หรือตามสเปคโรงงาน และค่าของอุณหภูมิไม่ต้องสนใจ และควรเปลี่ยนตามกำหนดเวลาของระยะการใช้งานเพราะน้ำมันหล่อลื่นเป็นส่วนที่หล่อลื่นและระบายความร้อนให้กับเครื่องยนต์ ถ้าหมดสภาพก็ทำให้เครื่องยนต์สึกหรอกว่าที่ควรจะเป็น

 

Facebook Comments