ประเภทของเกียร

ก่อนที่เราจะพูดถึงน้ำมันเกียรขอพูดอธิบายเรื่องเกียรเพื่อให้มีความเข้าใจตรงกันก่อนนะครับ ว่าเกียรที่เราใช้กันมันมีอยู่กี่ชนิดและแต่ละชนิดมีความแตกต่างกันอย่างไร รถของคุณผลิตปีไหน เหมาะสมกับรถของเราหรือเปล่า นั่นก็จะทำให้เราสามารถเข้าใจหลักการของมันเพื่อใช้ในการเลือกน้ามันเกียรให้มีความถูกต้องและไม่ทำให้เครื่องยนต์และเกียรเสียหายก่อนเวลาอันควร  การเลือกน้ำมันเกียรผิดมีผลกับการส่งกำลังของเครื่องยนต์ อัตราเร่ง และ ทำให้กระกวนการคิดของ ECU ของระบบผิดเพื้ยนไปทำเกิดสาเหตุหลายๆอย่างเช่น เครื่องยนต์อืด เร่งไม่ขึ้น หรือเครื่องร้อนเร๊วเป็นต้น ที่กล่าวมาเป็นแค่ส่วนเล็กๆ ของปัญหาที่เกิดขี้นยังไม่รวมต้องทำการยกใหม่ก่อนเวลาอันควร

เกียรธรรมดา

เป็นเกียรที่อาศัยหลักการทำงานที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนเพื่อส่งผ่านกำลังจากเครื่องยนต์ไปที่ชุดเกียรโดยอาศัยชุดแผ่นครัชเป็นตัวลงกำลังเข้าชุดเกียรและส่งผ่านกำลังไปที่ชุดเฟื่องโดยชุดเฟื่องแต่ละชุดจะมีขนาดที่ไม่เท่ากัน  เกียรหนึ่งจะมีขนาดใหญ่เพื่อส่งกำลังขับให้เครื่องยนต์ให้รถเคลื่อนไปข้างหน้าได้ และเกียรห้าจะเป็นตัวส่งแรงขับเคลื่อนสูงสุด จะเห็นว่าความซับซ้อนไม่มาก

เกียรออโต้เมติก

เป็นเกียรที่สามารถปรับการใช้งานได้เองตามความเร็วที่กำหนด กล่าวคือการทำงานของเกียรออโตเมติดจะทำงานสัมพันธ์กับกล่องคอนโทร ECU  ซึ่งจะทำหน้าทีกำหนดว่าจะให้เปลี่ยนเกียรเมื่อความเร็วรอบเท่าไร หลักการทำงานจะซับซ้อน เพราะจะขึ้นอยู่กับกล่องควบคุม เห็นไหมละครับ หลักการคนละอย่างเลย และในเกียรออโตเมติกเองยังแบ่งเป็นสองถึงชนิด ดังนี้

เกียรออโตเมติกแบบแบบทอร์คคอนเวนเตอร์

เป็นเกียรออโตเมติดจะใช้แผ่นคลัชแผ่นเล็กๆ ประกบระบบส่งกำลังซึ่งต้องอาศัยน้ำมันหล่อลื่นหรือเรียกว่าน้ำมันเกียร ที่มีความหนึดต่ำเพื่อให้แผ่นคลัชไม่หนึดและจับกันกับแผ่นเหล็ก ซึ่งมันจะใช้แรงดันน้ำมันดันตัวทอร์ค ซึ่งทำหน้าที่คล้ายคลัชซึงอาจจะมี สองชุดหรือสามชุดแล้วแต่ชนิด ซึ่งวิธีนี้อาจสูญเสียกำลังไปกับการเปลี่ยนเกียรไปประมาณ 10% ถ้าน้ำมันเกียรเสื่อมคุณภาพ ประสิทธิภาพจะลดลง

การพัฒนาเกียรออโตเมติกได้มีการต่อยอดไปเป็นเกียรแบบทริพโทรนิค ซึ่งก็เกียรออโตแบบหนึ่ง

เกียรออโตเมติกแบบ CVT

ใช้สายพานและพู่เล่ย์แปรผัน(ปรับขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางได้)เริ่มเข้ามาเมืองไทยน่าจะยุคปี2000 เกียร์แบบนี้คล้ายๆกับเกียร์ของรถมอไซค์ออโตเมติคทั่วไป และพู่เล่ย์ถูกควบคุมด้วย ECU  ซึ่งมีข้อดีคือจำนวนสปีดของเกียร์มากในตลาดตอนนี้สามารถทำได้ถึง 7สปีด การเปลี่ยนเกียร์ขึ้นลงนุ่มนวลไม่กระตุก หลายคนบอกว่าอืดเพราะ รอบอยู่นิ่งแต่ความเร็วเพิ่ม ข้อเสียคือยังคงมีความสูญเสียกำลังเหมือนกันเพราะสานพานต้องตึงถึงจะส่งผ่านกำลังได้  สายพานมีอายุการใช้งานตามระยะเวลา

ขอยกตัวอย่างแค่นี้สำหรับเกียรแต่ละแบบที่มีใช้อยู่ในขณะนี้ เพราะยังมีเกียรอีกหลายชนิดแต่ล้วนต่อยอดออกไปเช่น ซิงเกิ้ลคลัส และ  ดูอัสคลัส

การเลือกน้ามันเกียร

อับดับแรกเลยให้ดูว่า เป็นน้ำมันเกียรสำหรับเกียรอะไร ถ้าเป็นเกียรธรรมดาให้เลือกใช้ MTF (Manual transmission fluid ) จะมีค่าเฉพาะดังนี้

หน้าที่ของน้ำมันเกียร์ธรรมดา คือ

  • ลดแรงเสียดทานและสึกหรอ
  • ลดเสียงดังและการสั่นสะเทือนในเรือนเกียร์
  • ชะล้างเศษโลหะจากหน้าฟันเกียร์ที่เกิดจากการกระเทือน และเสียดสี
  • ป้องกันสนิม และการกัดกร่อน

คุณสมบัติของน้ำมันเกียร์ธรรมดาและเฟืองท้าย

  • ควรจะมีสารรับแรงกดสูง Additive เคลือบผิวฟันเกียร์
  • ทนความร้อนและปฏิกิริยาอ็อกซิเดชัน
  • ไม่กัดกร่อนวัสดุในเรือนเกียร์

มาตรฐานน้ำมันเกียร์

มาตรฐานด้านความหนืด SAE

  • แบบเกรดเดี่ยว #90, #140
  • และมัลติเกรด # 80W-90, #80W140

มาตรฐานสมรรถนะ API

  • GL1 = รถที่ใช้ Spiral bevel & worm gear axles (เฟืองตัวหนอน) ใช้งานเบา เป็นน้ำมันแร่ อาจเติมสารกันฟอง
  • GL-2 = ใช้กับเฟืองตัวหนอน ทำงานรับน้ำหนักและความร้อนสูงกว่า GL-1
  • GL-3 = เกียร์ธรรมดา และ Spiral bevel axles
  • GL-4 = ไฮปอยด์เกียร์ ทำงานใต้สภาวะ ความเร็วสูง แรงบิดต่ำ หรือ ความเร็วต่ำแต่แรงบิดสูง
  • GL-5 = ไฮปอยด์เกียร์ ทำงานใต้สภาวะ ความเร็วต่ำ แต่มีการกดดันสูง แรงบิดสูง หรือ ความเร็วสูง แรงบิดต่ำ

ถ้าเป็นเกียรออโตเมติกจะใช้คำว่า ATF (Automatic transmission fluid) ขึ้นต้น  เช่น ของศูนย์ HONDA คือ ATF-Z1,ATF-DW1 เป็นต้น เรามาดูกันว่ายังมีคำไหนแทนกันได้อีก และถ้าเป็นเกียร CVT (continuously variable transmission)  ก็ใช้คำขึ้นต้นนี้เท่านั้น

Dexron

คำนี้มันมาจากสมัยก่อนนู้น GM เค้าผลิตเป็นเจ้าแรกๆควบมากับ Mercon ของฟอร์ดและ ATF+4 ของ ไครสเลอร์ ก็เลยใช้คำๆนี้ Dexron ที่คนเค้าใช้กันอยู่มากกว่าเพื่อนมาเป็นมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลก

Dexron,Dexron-ll, llD, Dexron IIE  เป็นน้ำมันเกียร์ยุคแรกๆของ GM ถูกพัฒนาต่อเป็น Dexron III ข้อแตกต่างระหว่าง Dex II กับ Dex IIE คือ สารต่อต้านการสึกกร่อน มีค่า V.I. 160 – 165  เป็นน้ำมันเกียร์ที่มีความหนืดปานกลาง ทนความร้อนและไม่รวมตัวกับอากาศได้ง่าย

Dexron III, IIIH – เป็นน้ำมันที่ GM ใช้เป็นมาตรฐานติดรถในปี 1994  และผู้ผลิตรถรายอื่นๆนำไปพัฒนาต่อเป็นจำนวนมาก และ GM เริ่มมาใช้ในปี 2003 และหยุดการผลิตตัว IIIH ในปี 2006 และพัฒนาตัว Dexron IV ต่อจาก Dex III       มีค่า V.I. 200  สำหรับรถเล็กที่ผลิตก่อนปี 94 เค้าไม่แน่ะนำให้ใช้ Dex III ครับ เหตุผล คือการระบายความร้อนในเกียร์ที่มี V.I เกิน 200 ทำได้ช้า ความร้อนสะสมจะทำให้คลัชลื่น และพังง่าย

น้ำมันเกียร์ออโต้มีค่าความหนีด (Viscosity Index หรือ V.I)  ตัวนี้เป็นตัวสำคัญครับ เป็นตัวชี้บอกความสามารถในการเปลี่ยนแปลงความหนืดตามสภาพอากาศ ถ้าจะเปรียบกับน้ำมันเครื่อง ก็คงเหมือนตัวเลขข้างหลัง 50 40 30 20 ตัวเลขยิ่งน้อยยิ่งใส เลขมากๆยิ่งหนืด

สรุป การเลือกน้ำมันเกียร

ถ้าเป็นเกียรธรรมดาจะใช้ MTF เป็นหลัก ซึ่งอาจมีค่า มารตฐาน SAE (ค่าความหนืดกับอุณหภูมิ)  หรือ API ก็ได้ ซึ่งอาจจะใช้น้ำมันเครื่องแทนน้ำมันเกียรได้ชั่วคราวถ้าจำเป็น ซึ่งต้องมีมาตรฐาน SAE เดียวกัน ซึ่งที่เหลือจะเป็นสารที่เติมเข้าไปในน้ำมันเพื่อลดความสึกหรอเป็นต้น  ส่วนเกียรออโตเมติกให้ใช้ น้ำมันที่ขึ้นต้นด้วย ATF แล้วตามดูปีของรถยนต์ที่ใช้ ตามมาตรฐาน Dexron เป็นต้น โดยรถที่มีอายุต่ำกว่าปี 2002 แนะนำให้ใช้ Dexron II เท่านั้น

อ้างอิงภาพ http://www.carbibles.com/transmission_bible.html

Facebook Comments